http://thaicursor.blogspot.com  getcode

-->

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กล้องโทรทรรศน์อวกวศจันทราของนาซาพบหลุมดำคู่ภายในกาแล็กซี NGC 3393

      


         กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราของนาซาพบหลุมดำคู่แรกที่มีมวลมหาศาลในกาแล็กซีกังหัน NGC 3393 ที่มีความคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งวัตถุดังกล่าวอยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 160 ล้านปีแสง
         หลุมดำดังกล่าวอยู่ใกล้ศูนย์กลางของกาแล็กซี NGC 3393 ซึ่งหลุมดำทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ 490 ปีแสง โดยเชื่อว่าหลุมดำนี้อาจจะเป็นส่วนที่เหลือจากการรวมตัวกันของสองกาแล็กซีซึ่งมีมวลไม่เท่ากัน
         ก่อนหน้านี้ได้มีการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นรังสีเอ็กซ์ และในช่วงคลื่นอื่นๆ และได้มีการระบุว่ามีหลุมดำมวลมหาศาลซึ่งมีตำแหน่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของกาแล็กซีกังหัน NGC 3393 อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบของนักวิจัยจันทราได้แยกหลุมดำออกเป็นคู่ โดยหลุมดำทั้งสองกำลังแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมา
         จากข้อมูลเบื้องต้นนักดาราศาสตร์พบว่าการรวมตัวกันของกาแล็กซีที่มีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งมีผลต่อการก่อตัวของหลุมดำคู่ภายในกาแล็กซีใหม่ และมีลักษณะการกระจ่ยตัวของดาวอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับกับหลุมดำ๕ุ่มวลมหาสาลในกาแล็กซี NGC 6240 ซึ่งห่างจากไปโลกประมาณ 330 ล้านปีแสง
         กาแล็กซี NGC 3393 จัดเป็นกาแล็กซีกังหัน ภายในบริเวณศูนย์กลางกาแล็กซีเต็มไปด้วยดาวอายุมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่ผิดปกติของกาแล็กซีที่มีหลุมดำคู่ แต่กาแล็กซี NGC 3393 อาจเป็นกรณีแรกของการรวมตัวกันของกาแล็กซีที่มีขนาดใหญ่ กับกาแล็กซีที่มีขนาดเล็กรวมตัวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อตัวของหลุมดำคู่มวลมหาศาล
         ในความเป็นจริงทางทฤษฎีบอกว่า การรวมตัวกันของมวลเพียงเล็กน้อย เป็นวิธีที่ก่อให้เกิดหลุมดำคู่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการที่จะพบเห็นการรวมตัวกันของกาแล็กซีก็มีความเป็นไปได้ยากมาก
         การรวมตัวกันของมวลขนาดเล็ก (minor merge) หลุมดำควรมีมวลขนาดเล็กกว่าหลุมดำอื่นๆ ก่อนการชนกันของกาแล็กซี ซึ่งมวลของหลุมดำทั้งสองยังไม่สามารถที่จะวัดได้ แต่การสังเกตที่แสดงให้เห็นว่าหลุมดำทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าประมาณหนึ่งล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ได้แก่เกิดการรวมตัวกันของมวลที่มีขนาดเล็กจำนวนมาก หลังจากนั้นประมาณ 1,000 ล้านปีอาจเกิดการรวมตัวกันของหลุมดำในที่สุด
         หลุมดำทั้งสองที่มีมวลมหาศาลถูกบดบังโดยฝุ่นและก๊าซ ซึ่งทำให้ยากต่อการสังเกตในช่วงแสงที่ตามองเห็น แต่รังสีเอ็กซ์์ สามารถเจาะผ่านฝุ่นและก๊าซที่บดบังได้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราสามารถแสดงให้เห็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนของหลุมดำคู่ได้
         เมื่อเร็วๆนี้  จูเลีย โดเมอร์เฟอร์ด จากมหาวิทยาลัยเทคซัส (Julia Comerford จาก University of Texas at Austin)  พบว่ากาแล็กซี NGC 3393 มีความคล้ายกันบางอย่างที่จะเป็นหลุมดำคู่ โดยใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา แหล่งที่มาของรังสีเอ็กซ์ อาจเกิดจากหลุมดำคู่ที่มีมวลมหาศาลภายในกาแล็กซีซึ่งระยะทางห่างจากโลกประมาณ 2,000 ล้านปีแสง โดยหลุมดำทั้งคู่ห่างกันประมาณ 6,500 ปีแสง
         ในกาแล็กซี NGC 3393 เป็นกาแล็กซีที่ไม่แสดงสัญญาณรบกวนหรือการก่อตัวของดาวจำนวนมาก อย่างไรก็ตามไม่มีการจัดเรียงลำดับของโครงสร้างรวมถึงลักษณะที่เป็นเกลียวของกาแล็กซี นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายต้นกำเนิดของก๊าซที่พุ่งออกมา จากหลุมดำหนึ่งเดียวที่อยู่ในกาแล็กซีได้
         กูอิโด ริซาลิติ (Guido Risaliti) จากองค์กร CfA และสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ฟลอเรนในอิตาลี กล่าวว่า การชนกันและการรวมตัวกันเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญที่สุดของกาแล็กซีและหลุมดำที่จะเกิดการแผ่ขยาย และการหาหลุมดำคู่ในกาแล็กซีกังหันเป็นสัญญาณสำคัญเพื่อการเรียนรู้วิธีการเกิดขึ้นของหลุมดำภายในกาแล็กซี

รายงานข่าวโดย
รอยาลี มามะ
สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ที่มาของข่าว
http://www.nasa.gov/mission_pages/chandra/news/H-11-278.html  
    

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ดาวเคราะห์เพชร

               
                  เขาว่าเพชรเม็ดงามคู่กับหญิงสวย แต่ลองถ้าเป็นเพชรเม็ดใหญ่เท่าดาวเนปจูนล่ะ? ก็คงต้องคู่กับนักดาราศาสตร์เพชรเม็ดขนาดนี้มีอยู่จริง และอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกเรานี้เอง ไม่ใกล้ไม่ไกลแค่ 4,000 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวงู ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นบริวารของพัลซาร์ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 (PSR J1719-1438) ค้นพบโดยคณะนักวิจัยนานาชาติที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ไซโร (CSIRO) ของหอดูดาวพากส์ในออสเตรเลีย การสำรวจของคณะนี้ทำโดยถ่ายภาพตามจุดต่าง ๆ ของท้องฟ้าต่างกัน 90,000 จุด แต่ละจุดใช้เวลารับแสงนาน 9 นาทีพัลซาร์เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้ยุบลงไปเป็นดาวนิวตรอน พัลซาร์ทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 20 กิโลเมตร มันจะยิงคลื่นวิทยุออกมาเป็นลำและกวาดออกไปในอวกาศ หากลำนั้นชี้มายังโลกและ และมีกล้องโทรทรรศน์ส่องอยู่ที่ตำแหน่งนั้น กล้องก็จะมองเห็นคลื่นวิทยุแผ่ออกมาเป็นพัลส์สั้น ๆ หากพัลซาร์นั้นมีดาวเคราะห์โคจรรอบอยู่ด้วย แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์จะรบกวนพัลส์นี้ซึ่งตรวจจับได้ และนี่คือสาเหตุที่นักดาราศาสตร์ตรวจพบดาวเคราะห์ของพัลซาร์นี้ ปัจจุบันพบว่ามีพัลซาร์ราว 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร
                จากการวิเคราะห์การกล้ำของพัลส์วิทยุ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบการโคจรรอบพัลซาร์ ระยะห่างจากพัลซาร์ และขนาดของดาวเคราะห์บริวารได้ สำหรับบริวารของ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 60,000 กิโลเมตร อยู่ห่างจากพัลซาร์ 600,000 กิโลเมตร และโคจรรอบพัลซาร์ครบรอบทุก 2 ชั่วโมง
                 แม้ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดาวพฤหัสบดีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 142,984 กิโลเมตรความหนาแน่นที่สูงกว่าปกตินี้เองที่เป็นเบาะแสถึงต้นกำเนิดที่ไม่ธรรมดาของดาวเคราะห์ดวงนี้ เมื่อนักดาราศาสตร์ศึกษารายละเอียดแล้ว กลับพบว่าแท้จริงแล้วเป็นซากของดาวฤกษ์มวลสูง ดาวฤกษ์ดวงนี้เคยเป็นดาวสหายกับพัลซาร์ เจ 1719-1438 มาก่อน สันนิษฐานว่ามันได้โคจรรอบพัลซาร์และตีวงแคบเข้าเรื่อย ๆ ทำให้พัลซาร์หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมากพร้อมกับดึงดูดสสารจากผิวของดาวฤกษ์ไป
             ปัจจุบันนี้กระบวนการแย่งสสารได้ยุติลงและระบบก็เข้าสู่เสถียรภาพแล้ว พัลซาร์ เจ 1719-1438 ได้กลายเป็นพัลซาร์มิลลิวินาที ที่หมุนรอบตัวเองเร็วถึง 10,000 รอบต่อนาที
ส่วนดาวฤกษ์ที่ถูกสูบเลือดสูบเนื้อไปมากถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ของมวลเดิม ขณะนี้หลือเพียงแกนที่เป็นคาร์บอน และด้วยเหตุที่มีความดันมหาศาล ทำให้คาร์บอนนี้มีโครงสร้างเป็นผลึกแบบเพชร แต่คาร์บอนในดาวดวงนี้จะมีความหนาแน่นมากกว่าเพชรบนโลกมาก


ที่มา:
'Diamond planet' discovered in the Milky Way - cosmosmagazine.com
This Diamond Planet Will Last Forever - discovery.com

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด บทที่ 8 เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

1.เพราะเหตุใดจึงต้องส่งกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปโคจรรอบโลกในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า
ตอบ กล้องโทรทรรศน์ที่ส่งขึ้นไปพร้อมยานอวกาศนั้น จะมีอุปกรณ์สำคัญติดตั้งไปกับกล้อง คือ ระบบคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพมุมกว้าง เครื่องตรวจวัดสเปกตรัม เครื่องปรับทิศทางของกล้อง ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากกล้อง จะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุท้องฟ้า ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงส่วนประกอบในระบบสุริยะ การกำเนิดของดาวฤกษ์ โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของกาแล็กซี

2.ยานขนส่งอวกาศปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้เข้าสู่วงจรโคจรได้อย่างไร
ตอบ ยานขนส่งอวกาศปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้เข้าสู่วงโคจรได้ โดยให้อยู่เหนือผิวโลก 35,880 กิโลเมตร ในระดับนี้ดาวเทียมจะเคลื่อนที่รอบโลกเร็วเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง ดาวเทียมสื่อสารจึงปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้าตลอดเวลา

3.ท่านคิดว่าการอาศัยอยุ่ในอวกาศของมนุษย์อวกาศเป็นระยะเวลานานๆ มีผลกระทบจ่อมนุษย์อวกาศเหล่านั้นอย่างไรบ้าง
ตอบ การอาศัยอยู่ในอวกาศของมนุษย์อวกาศ ภายในสภาพแวดล้อมแห่งความถ่วงของอวกาศ นักบินอวกาศจะพยายามดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมือนอยู่บนโลกมากที่สุด แต่เนื่องจากไม่ถูกดึงดูดจากแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีสภาพไร้น้ำหนัก การกิน การนอน และการออกกำลังกายจึงมีปัญหาและถ้าอยู่ในอวกาศ เป็นระยะเวลานานๆ จะมีผลต่อกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อทุกส่วนจะมีขนาดเล็กลง ระบบสูบฉีดโลหิต หัวใจทำงานช้าลง กระดูกจะมีความหนาแน่นน้อยลง กระดูกจึงเปราะและแตกหักง่าย

 4.การสำรวจอวกาศมีผลดีและผลเสียต่อมนุษย์และโลกอย่างไร
ตอบ - มีผลดีต่อมนุษย์และต่อโลกคือทำให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆคือ
 ส่วนประกอบในระบบสุริยะ ,
การกำเนิดของดาวฤกษ์, โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของกาแล็กซี
 วิวัฒนาการของเอกภพการกำเนิดของโลก,หาคำตอบว่า มนุษย์เกิดมาได้อย่างไรและ การป้องกันโลกไม่ให้เกิดอันตรายจากการชนของวัตถุในอวกาศ
         - ผลเสียที่มีต่อมนุษย์และต่อโลก
 สิ้นเปลืองงบประมาณและ เกิดอันตรายต่อมนุษย์ หากดาวเทียมหรือยานอวกาศตกลงมาสู่พื้นโลก เช่น สถานีอวกาศเมียร์

แบบฝึกหัด บทที่ 7 เรื่อง ระบบสุริยะ

1. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์รุ่นหลัง
ตอบ ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลาที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง ทำให้ที่แกนกลางของเนบิวลาที่ยุบตัวลงนี้ จะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ขอบนอก เมื่ออุณหภูมิแกนกลางสูงมากขึ้น เป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด” (protostar) หลังจากที่ดวงอาทิตย์เพิ่งกำเนิดขึ้นมาจะคงสภาพที่ใหญ่กว่าปัจจุบันเล็กน้อย อุณหภูมิที่แกนกลางสูงขึ้นไปถึง 15 ล้านเคลวิน และปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ได้เริ่มต้นขึ้น หลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสฮีเลียม เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อน ทำให้ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สมบูรณ์ จึงกล่าวได้ว่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์รุ่นหลัง

2. ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมิวิวัฒนาการอย่างไร
ตอบ ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา ซึ่งการยุบตัวนี้เกิดจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง เมื่อแก๊สยุบตัวลง ความดันของแก๊สจะสูงขึ้น ผลที่ตามมา คือ อุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นที่บริเวณแกนกลางเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิดเมื่อแรงโน้มถ่วงถึงให้แก๊สยุบตัวลงไปอีก อุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 15 ล้านเคลวิน ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (thermonuclear reaction) หลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสฮีเลียม เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อนจะทำให้ดวงอาทิตย์มีความสมบูรณ์ขึ้น วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์มีดังนี้ คือ เมื่อธาตุไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลงเหลือน้อย แรงโน้มถ่วง เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์สูงกว่าแรงดัน ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 100 ล้านเคลวิน จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมรวมนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมเป็นนิวเคลียสของคาร์บอน ในขณะเดียวกันไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกแกนฮีเลียม มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมครั้งใหม่ได้พลังงานออกมาอย่างมหาศาล ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 100 เท่าของขนาดปัจจุบัน เมื่อผิวด้านนอกขยายตัว อุณหภูมิผิวจะลดลง สีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง เรียกว่า ดาวยักษ์แดง ซึ่งมีชีวิตค่อนข้างสั้น ที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ในสภาพดาวยักษ์แดง ในช่วงท้ายของชีวิตจะไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่หลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนอีกต่อไป แรงโน้มถ่วงจะทำให้แกนกลางของดาวยักษ์แดงยุบตัวลง กลายเป็นดาวแคระขาว ขณะเดียวกันกับที่แกนกลางเกิดการยุบตัว มวลของผิวดาวรอบนอกไม่ได้ยุบเข้ามารวมด้วย จึงมีชั้นของแก๊สหุ้มอยู่รอบ เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ ซึ่งจะเคลื่อนห่างออกไปจากดาวแคระขาว กระจายออกไปในอวกาศ

3. เพราะเหตุใดโลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ จึงถูกจัดเป็นดาวเคราะห์หินและเกิดได้อย่างไร
ตอบ เพราะโลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ ต่างเป็นดาวเคราะห์ ที่มีพื้นผิวเป็นพื้นหินแข็งชัดเจน ดาวเคราะห์หินเกิดจากตอนที่ดาวเคราะห์เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีมาแล้ว มีภูเขาน้ำแข็งและก้อนหินจำนวนมากที่เหลือจากการสร้างดวงอาทิตย์อยู่ในบริเวณที่เป็นดาวเคราะห์หินในปัจจุบัน ต่อมาอีก 500 ล้านปี วัตถุก้อนใหญ่ก็ดึงก้อนเล็กเข้าหา เกิดการชนกันพอกพูนจนใหญ่โตขึ้น เศษที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยลง ขณะเดียวกันวัตถุที่ระเหยง่ายหรือเบา เช่น น้ำและไฮโดรเจน ก็ถูกพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ผลักดันให้ออกไปอยู่ที่ชั้นนอกของระบบสุริยะ ดังนั้น ดาวเคราะห์ชั้นในจึงเป็นหิน

4. เพราะเหตุใดดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จึงถูกจัดเป็นดาวเคราะห์ยักษ์และเกิด
ได้อย่างไร    
ตอบ เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนหรือแก๊สแอมโมเนียและมีเทน ไม่มีพื้นผิวดาวชัดเจน ภายในดาวเคราะห์ยักษ์ เป็นแก๊สความดันสูงหรือแก๊สเหลว ซึ่งมักมีอุณหภูมิและความดันสูงมาก มีขนาดใหญ่ ดาวเคราะห์ยักษ์เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะที่ระบบสุริยะกำลังเกิดขึ้นนั้น ดาวเคราะห์ยักษ์ขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าดาวเคราะห์หิน ซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เพราะอยู่ในบริเวณที่เย็นกว่า ก้อนสารที่รวมกันอยู่ชั้นนอกของระบบสุริยะรวมถึงก้อนน้ำแข็งสกปรกและแก๊สที่แข็งตัว เป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ยักษ์ด้วย เมื่อเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้สารที่ระเหยง่าย เช่น น้ำ ระเหยออกจากดาวเคราะห์ชั้นใน เหลือแต่ส่วนที่เป็นหินแข็งและโลหะ เมื่อวัตถุที่เป็นของแข็งในตอนเริ่มต้นมีขนาดใหญ่กว่าแรงโน้มถ่วงที่สูงของดาวที่กำลังโตขึ้น จึงดึงดูดเอาแก๊สจำนวนมากไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นดาวเคราะห์ยักษ์

5. ดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง อยู่บริเวณใดของระบบสุริยะ และเกิดได้อย่างไร
ตอบ ดาวเคราะห์น้อย จะโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ในระบบสุริยะ
ดาวหางอยู่รอบนอกของระบบสุริยะ  ดาวเคราะห์น้อยเกิดจากเศษที่เหลือจากการพอกพูนของดาวเคราะห์หิน ถูกแรงรบกวนของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีขนาดใหญ่และเกิดมาก่อน ทำให้มวลสารในบริเวณแถบของดาวเคราะห์น้อยจับตัวกันมีขนาดใหญ่ไม่ได้ จึงปรากฏมีแต่ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก ดาวหาง เกิดจากเศษเหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์ที่ประกอบด้วยก้อนน้ำแข็งและแก๊สแข็งตัวหลายชนิด รวมทั้งฝุ่นที่ปะปนอยู่ เมื่อก้อนน้ำแข็งนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะได้รับรังสี ทำให้เกิดการระเหิดของวัตถุบางส่วน เกิดการพุ่งกระจายของธุลี และแก๊สออกมาจากนิวเคลียสหรือแกน เป็นส่วนหัวของดาวหางและส่วนหาง

6. การระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์คืออะไร มีผลกระทบต่อโลกหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ปรากฏการณ์การระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์ (Solar Flare) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการระเบิดบนผิวของดวงอาทิตย์ การระเบิดจ้ามักเกิด ณ บริเวณที่เป็นจุด ซึ่งดวงอาทิตย์จะเกิดจุดมากที่สุดทุกๆ ประมาณ 11 ปี ช่วงที่มีจุดมากจะมีการระเบิดจ้ามากด้วย ทำให้อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ เป็นจำนวนมากกว่าปกติ เรียกว่า พายุสุริยะ  การระเบิดจ้ามีผลต่อโลก คือ การเกิดแสงเหนือ - แสงใต้ เกิดไฟฟ้าแรงสูงดับในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก เกิดการติดขัดทางการสื่อสารโดยเฉพาะวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมอาจถูกทำลาย



แบบฝึกหัด บทที่ 6 เรื่อง ดาวฤกษ์

1. ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีความเหมือนและความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง
ตอบ - ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีความเหมือน คือ
         มีพลังงานในตัวเองและัเป็นแหล่งกำเนิดธาตุต่างๆ เช่น ธาตุฮีเลียม ลิเทียม และเบริลเลียม
         - มีความแตกต่างกันดังนี้ คือ มวล อุณหภูมิผิว สี อายุ องค์ประกอบทางเคมี ขนาด 
ระยะห่าง ความสว่าง ระบบดาว และการวิวัฒนาการ

2. หลุมดำคืออะไร ต่างจากดาวนิวตรอนอย่างไร
ตอบ   หลุมดำ (Black hole) คือ บริเวณในอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูง ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่ แสงสว่าง ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ก็ออกจากหลุมดำไม่ได้ เมื่อไม่มีแสงออกมาหลุมดำจึงมืดหลุมดำอาจแบ่งได้เป็นดังนี้คือ
1. หลุมดำที่เกิดจากดาวฤกษ์ตายแล้ว เมื่อดาวฤกษ์ที่มวลมากๆ ถึงคราวหมดอายุขัย จะเกิดการระเบิดเป็น ซูเปอร์โนวา หากหลังการระเบิดยังหลงเหลือมวลสารที่ใจกลางของดาวมากกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ มวลสารใจกลางดาวนั้นจะยุบตัวลงเป็นหลุมดำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์หลายแห่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก เช่น Cygnus X - 1 ในกลุ่มดาวหงส์ ก็เชื่อว่า 
2. หลุมดำยักษ์ หลุมดำจำพวกนี้จะมีมวลมากมายมหาศาล อาจมีมวลมากนับเป็นหลายพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในใจกลางของกาแล็กซีขนาดใหญ่ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักดาราศาสตร์พบหลุมดำชนิดนี้อยู่ตามกาแล็กซีขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราด้วย
3. หลุมดำจิ๋ว เป็นหลุมดำที่มีมวลเพียงไม่กี่ร้อยล้านตัน มีขนาดเล็กเพียงขนาดของอะตอมเท่านั้น เกิดขึ้นหลังจากเกิด บิกแบง ได้ไม่นาน หลุมดำชนิดนี้จะมีอายุสั้นและจะสลายตัวด้วยการระเบิด ปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา หลุมดำจิ๋วนี้เป็นหลุมดำในทางทฤษฎี จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการค้นพบอย่างเป็นทางการ

               ดาวนิวตรอน (Neutron star) คือ ดาวซึ่งมีมวลอยู่ในช่วงระหว่าง 8 ถึง 18 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ซึ่งได้ยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของตัวเอง องค์ประกอบของดาวประกอบด้วยนิวตรอนล้วนๆ ดาวนิวตรอนมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงประมาณ 10 กิโลเมตร และมีความหนาแน่นประมาณ 1017 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดาวนิวตรอนสามารถตรวจพบได้ในรูปของ พัลซาร์

3. เนบิวลาคืออะไร และเกี่ยวข้องกันกับดาวฤกษ์อย่างไร
ตอบ เนบิวลา คือ กลุ่มแก๊สและฝุ่นที่เกิดขึ้นในอวกาศภายในกาแล็กซี เกี่ยวข้องกันกับดาวฤกษ์ คือ ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลา หรือกล่าวอีกอย่างว่า เนบิวลา เป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท

4. ธาตุต่างๆ ในโลกและในตัวเรา เกิดจากที่ใด
ตอบ  เกิดจากการระเบิดของกลุ่มแก๊สภายในดวงดาว เช่น การระเบิดภายในดาวฤกษ์ที่มีความร้อนและความดันมหาศาล ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา ทำให้เกิดธาตุหนัก  ธาตุต่างๆ ในตัวเราเกิดจากพืชสร้างอาหารขึ้นโดยวิธีสังเคราะห์แสง เมื่อเรารับประทานพืชก็จะได้สารอาหารที่ทำให้เกิดธาตุต่างๆ ขึ้นภายในตัวเรา

5. ดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์เดียวกัน อยู่ห่างจากโลกเท่ากันหรือไม่
ตอบ จะอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน เพราะการกำหนดรูปร่างของกลุ่มดาว จะถือเอาดาวฤกษ์ที่สว่างบางดวงในกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มเป็นตัวกำหนด ทำให้แพรัลแลกซ์หรือความเหลื่อมของมุมในกลุ่มดาวฤกษ์เท่ากัน จึงอยู่ห่างจากโลกเท่านั้น


แบบฝึกหัด บทที่ 5 เรื่อง เอกภพ

1. เพราะเหตุใด นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จึงเห็นด้วยกับทฤษฎีบิกแบง ที่ใช้อธิบายกำเนิดเอกภพ 
ตอบ   จากทฤษฎีบิกแบงซึ่งมีหลักฐานหรือปรากฏการณ์ที่สนับสนุนอยู่ 2 อย่าง คือ
          1) การขยายตัวของเอกภพ
          2) อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพ ปัจจุบันลดลงเหลือ 2 - 73 เคลวินเท่านั้น
          จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักดาราศาสตร์เห็นด้วยกับทฤษฎีบิกแบง

2. ธาตุอะไรมีมากที่สุดในเอกภพ
ตอบ    ธาตุไฮโดรเจน

3. เอกภพประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง
 ตอบ   เอกภพประกอบด้วยระบบสุริยะและระบบกาแล็กซี

4. เอกภพเมื่ออายุประมาณ 300,000 ปี มีธาตุอะไรบ้างเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ตอบ   ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม

5. หลักฐานใดที่แสดงว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน
ตอบ
 ข้อมูลจากการสังเกตกาแล็กซีต่างๆ จำนวนมากพบว่ากาแล็กซี เหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์เลื่อนทางแดงของเส้นสเปกตรัม จากความรู้ทางฟิสิกส์พื้นฐานของนัก เมื่อพบปรากฏการณ์เลื่อนทางแดงของวัตถุท้องฟ้าใด แสดงว่าวัตถุนั้นกำลัง เคลื่อนที่ถอยหางออกจากผู้สังเกตบนโลก

6. กฎฮับเบิลมีว่าอย่างไร
ตอบ 
             http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/LESA212/greec/new.gif  =    H0d
             http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/LESA212/greec/new.gif  =    ความเร็วในการถอยห่างของกาแล็กซี
              H0  =   ค่าคงที่ของฮับเบิล (  71 km/s/Mpc )
                 d = ระยะทางถึงกาแล็กซี

7. ถ้าค่าแล้วเอกภพจะมีอายุและรัศมีประมาณเท่าใด
 ตอบ   ประมาณ 13,000 ล้านปี

8. คลื่นไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศสนับสนุนทฤษฎีบิกแบงอย่างไร
ตอบ   เพราะเป็นคลื่นไมโครเวฟที่เหลืออยู่หลังจากการระเบิดตัวออกของวัตถุความร้อน  
           มหาศาล (ช่วง Big-Bang)  จึงกล่าวได้ว่า เมื่อนานมาแล้ว เกิด Big-Bang ให้เอกภพกำเนิดขึ้นมา

9. กาแล็กซีคืออะไร และมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ กาแลคซี (Galaxy) ซึ่งประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต ฝุ่นผงและ แก็สในอวกาศ
        กาแลคซีเมื่อแบ่งโดยใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์แบ่งออก 4 ประเภท คือ
        1. กาแล็กซี่รูปวงกลมรี
        2. กาแล็กซีรูปก้นหอย
        3. กาแล็กซีรูปก้นหอยคาน
        4. กาแล็กซีไร้รูปร่าง

10. กาแล็กซีทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง คิดเป็นระยะทางกี่กิโลเมตร
ตอบ 
 1 ปีแสง คิดเป็นระยะทางประมาณ        =  9.5 × 10*12                km
           10*5 ปีแสง คิดเป็นระยะทางประมาณ  =  9.5 × 10*12 × 10* 5   km
ดังนั้น คิดเป็นระยะทาง                                      = 9.5 × 10*17               km

11.ทางช้างเผือกกับกาแล็กซีทางช้างเผือก เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ทางช้างเผือก เกิดจากดาวฤกษ์หลายหมื่นล้านดวงที่มาอยู่รวมกัน เห็นเป็นแนวฝ้าขาวจางๆ
         ผ่านเป็นทางยาวรอบท้องฟ้า ส่วนกาแล็กซี ทางช้างเผือก ประกอบด้วย
 ดาวฤกษ์ 200,000 ล้านดวง 
         และเมฆฝุ่นกับแก๊ส ที่เรียกว่า เนบิวลา รวมทั้งระบบสุริยะ ทางช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซี
         ทางช้างเผือก

12.กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่แตกต่างจากกาแล็กซีแอนโครเมดาอย่างไรบ้าง
ตอบ   - กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ จะโคจรรอบทางช้างเผือกที่ระยะห่างประมาณ 200,000 ปีแสง เป็น
          กาแล็กซีแบบไร้รูปทรงหรือมีรูปร่างไม่แน่นอน มีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้คล้ายกับ
          ก้อนเมฆในยามค่ำคืน อยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้ เป็นกาแล็กซีที่อยู่ใกล้เราที่สุด  
          - กาแล็กซีแอนโดรเมดา มองเห็นอยู่ในบริเวณท้องฟ้าทางเหนือ มีรูปร่างแบบกังหัน เหมือน        
          กาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดาอยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราไกล
          ประมาณ 2 ล้านปีแสง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M31 หรือ
NGC 224


แบบฝึดหัดบทที่ 4 เรื่อง ธรณีประวัติ

1.  นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่
ตอบ  นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการมีอยู่ของไดโนเสาร์โดยการศึกษาซาดึกดำบรรพ์

2.  เพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มอัคนี และหินแปร
ตอบ  เพราะหินอัคนีนั้นคือหินภูเขาที่พ่นออกมาและแข็งตัวลงดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะพบฟอสซิล   และหินแปรเป็นที่มีการแปรสภาพโดยความกดดันและความร้อนจึงเป็นเรื่องยากที่จะพบฟอสซิล

3.  ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง
ตอบ  1) บอกอายุของสิ่งมีชีวิเจ้าของฟอสซิล
         2) บอกสภาพแวดล้อมในขนาดที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิลยังดำรงชีวิตอยู่
         3) บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล
         4) บอกสาเหตุการตายของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล

4.  ซากดึกกำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร  อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ
ตอบ  ควรมีลักษณะสมบูรณ์ใกล้เคียงกับลักษณะตอนที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของซากฟอสซิลนั้นยังมีชีวิตอยู่  เช่น ซากฟอสซิลช้างแมมอธชื่อ ลิวบาที่มีสภาพสมบูรณ์จากกาารถูกแช่แข็ง หรือซากแมลง ที่อยู่ในอำพันซึ่งเกิดจากยางไม้

5.  การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก
ตอบ  เพราะซากฟอสซิลและลำดับชั้นหินนั้นสามารถบอกได้ถึงอายุและความเก่าแก่ของเจ้าของซอสซิล 
สภาพความเป็นอยู่ในขนาดมีชีวิต รวมไปถึงสาเหตุของการตายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งล้วนแล้วแต่เชื่อม
โยงไปยังสภาพแวดล้อมของโลกในโดยซึ่งศึกษาจากหลักฐานทางเคมีในชั้นดิน เช่น การศึกษาการสูญพันธุ์ของไดโดนเสาร์ไปจากโลกโดยการศึกษาซากฟอสซิลที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้นและตรวจสอบชั้นดินในขนาดนั้นเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง

6.  ถ้านักเรียนสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง  นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดภูเขานั้นอย่งไรจงอธิบาย
ตอบ  1) ภูเขาลูกนี้เกิดจากอยู่ยกตัวของพื้นดินที่มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้ภูเขายก
ตัวขึ้นมาพ้นน้ำ
         2) เกิดจากการลดลงของระดับน้ำทะเลทำให้ภูเขาใต้มหาสมุทรโผล่ขึ้นมาจากน้ำ  จาก 2 กรณียังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนเพราะยังขาดหลักฐานอื่นที่ทำให้เชื่อได้ว่าเกิดจากกรณีใด  กรณีหนึ่ง


แบบฝึกหัด บทที่ 3 เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

1.  อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" กับ "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว"
ตอบ  ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหว แต่   จุดเหนือศูนย์แผนดินไหว คือตำแหน่งที่อยู่เหนือตำแหน่งของตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัว    ของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหวขึ้นมาบนพื้นดิน

2.  แนวที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของผิวโลก  ในประเทศไทยมีแยวเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดหรือไม่
ตอบ  แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวนั้นจะอยู่บริเวณรอยเลื่อนต่างๆของเปลือกโลก  ซึ่งประเทศไทยนั้นมีแนว รอยเลื่อนขนาดเล็กอยู่ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก แต่ภูเขาไฟในประเทศไทยไนั้นเป็นภูเขาไฟ ที่ไม่มีพลังแล้วทั้งสิ้น

3.  แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแยก รอยแตกของหินใต้พื้นผิวโลกเมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
ตอบ  หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt) หินทัฟฟ์ (tuff),   หินแอกโกเมอเรต(agglomerate), หินพัมมิซ (Pumice), หินสคอเรีย (Scoria), หินออบซีเดียน  (Obsedian) เป็นต้น

4.  อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
ตอบ  สาเหตุเกิดจากการเลื่อนของแผ่นธรณีทำให้เกิดความเครียดสะสมและปลดปล่อยออกมาเป็น คลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทติยภุมิ

5.  นักเรียนคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า "ภูเขาไฟเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในโลก"
ตอบ  เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เรา สามารถนำวัตถุที่ภูเขาไฟพ่นออกมาเพื่อศึกษา และองค์ประกอบ  ของหินเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภายในโลก

6.  บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
ตอบ   ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด
           1) ทำให้เกิดแผ่นดินใหม่
           2) แร่ธาตุมหาศาลทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นดิน
           3) ทำให้สามารถศึกษาองค์ประกอบของโลกจากการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่ภูเขาไฟ
               พ่นออกมา
           4) ทำให้เกิดอัญมณีมีค่าทางเศรษฐกิจ
           5) เป็นแหล่องท่องเที่ยวเชิงวิทยาศาสตร์
          โทษของภูเขาไฟ
          1) สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชีวิตและทรัพย์ต่อพื้นที่โดยรอบ
          2) ภูเขาไฟทำให้เกิดควันพิษและเขม่าปริมาณมหาศาลขึ้นชั้นบรรยากาศทำให้โลกเสียสมดุล
          ประโยชน์ของแผ่นดินไหว
          1) ทำให้ศึกษาวิจัยโครงสร้างภายในโลกโดยวัด และวิเคราะห์จากคลื่นของการสั้นสะเทือน
          2) กระตุ้นการสะสมตัวของแหล่งแร่
          โทษของแผ่นดินไหว
          1) เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทัรพย์สินเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่สามารถพยากรณ์ได้
              จึงเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

7.  อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ "ภูเขาไฟมีพลัง" และ"คาบอุบัติซ้ำ"
ตอบ  ภูเขาไฟมีพลัง หมายถึง ภูเขาไฟที่ยังสามารถประทุขึ้นได้อีก  คาบอุบัติซ้ำ  หมายถึง ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง เกิดมาซ้ำในที่เดิมอีก


แบบฝึกหัด บทที่ 2 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง

1.หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่าง ๆ เคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
 ตอบ -    รอยต่อของขอบทวีปต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้
       -    หลักฐานความคล้ายกันของกลุ่มหินประเภทและช่วงอายุเดียวกันในทวีปต่าง ๆ
       -    หลักฐานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันที่พบในทวีปต่าง ๆ  

2.นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของทวีปอย่างไร ให้อธิบายและยกตัวอย่างหลักฐานหรือข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุน
ตอบ -  หลักฐานสันเขาใต้สมุทร และร่องลึกใต้สมุทร
       -  หลักฐานอายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร
       -  หลักฐานภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล

3.เพราะเหตุใดปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว มักจะเกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นธรณี
ตอบ บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นธรณี หินบริเวณดังกล่าวจะได้รับแรงมากระทำตลอดเวลา ทำให้หินตอบสนองต่อแรง โดยเปลี่ยนลักษณะและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นไหวสะเทือนทำให้เกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ กระบวนการมุดตัวยังทำให้หินในชั้นเนื้อโลกที่อยู่ใต้แผ่นธรณีที่ถูกหมุดตัว มีจุดหลอมเหลวต่ำลง ทำให้หินหลอมตัวเกิดเป็นแมกมา

4.รอยคดโค้ง รอยแตก รอยเลื่อนในหินมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่ และเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ รอยคดโค้งในชั้นหิน เป็นระนาบคดโค้งที่พบในชั้นหิน เป็นผลเนื่องมาจากชั้นหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก ตอบสนองต่อแรงที่มากระทำโดยการเปลี่ยนลักษณะ

5.จากแนวการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีต่าง ๆ จะมีผลต่อภูมิประเทศของโลกอย่างไรในอนาคต
ตอบ -   การที่แผ่นธรณีอินเดีย ออสเตรเลียชนกับแผ่นดินยูเรเซีย (แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน)ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาหิมาลัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
       -   มหาสมุทรแปซิฟิกจะมีขนาดเล็กลง



แบบฝึดหัดบทที่ 1 เรื่องโครงสร้า้งโลก

1.  หินต้นกำเนิดแมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบนให้นักเรียนบอกประเภท และส่วนประกอบของหินกำเนิดแมกมา
ตอบ  - หินหนืดบะซอลต์ ประกอบด้วย ซิลิก้าออกไซด์ (SiO2) ร้อยละ 45 - 55 อัลคาไลทั้งหมดร้อยละ 2 - 6 ไททาเนียม  ออกไซด์ (TiO2) ร้อยละ 0.5 - 2.0 เหล็กออกไซด์ (FeO) ร้อยละ 5 - 14  และอะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ 14 หรือมากกว่า แคลเซียมออกไซด์ (CaO) เกือบร้อยละ 10  และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) อยู่ระหว่างร้อยละ 5 - 12 โดยน้ำหนัก
         - หินหนืดแกรนิต ประกอบด้วย  ซิลิก้าออกไซด์ (SiO2) ร้อยละ 72.04  อะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ  14.42 แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ร้อยละ 1.82 เหล็กออกไซด์ (FeO) ร้อยละ 1.68   แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ร้อยละ 0.71 แทลเลียมออกไซต์ (TiO2) ร้อยละ 0.30  แมงกานีสออกไซต์ (MnO) ร้อยละ 0.05 โพแทสเซียมออกไซต์ (K2O) ร้อยละ 4.12  โซเดียมออกไซต์ (Na2O) ร้อยละ 3.69 เหล็กออกไซด์ (Fe2O3)ร้อยละ 1.22   และไดฟอสฟอรัสเตตระออกไซต์ ร้อยละ 0.12 โดยน้ำหนัก
         - หินหนืดไดออไรด์ ประกอบด้วย หินแกรนิต และหินบะซอลต์

2.  คลื่น P และ S มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   คลื่นPสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่นS
           คลื่นSสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น


3.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอับคลื่นS (S wave shadow zone)ที่ครอบคลุมผิวโลกในบริเวณกว้าง ให้นักเรียนใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของคลื่นไหวสะเทือนและโครงสร้างโลก อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว
ตอบ   แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้หินเปลี่ยนตัว เลื่อนตัว แตกหัก และถ่ายโอนพลังงานอย่างรวดเร็วให้กับชั้นหินที่อยู่ติดกันในรูปแบบของคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งแผ่กระจายจากจุดกำเนิดไปทุกทิศทุกทาง และสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างๆภายในโบกขึ้นมาบนผิวโลก

4.  ให้นักเรียนทำแผนผังสรุปโครงสร้างต่อไปนี้ โดยเติมลงในช่องว่างให้สมบูรณ์

ตอบ  
                                                        โครงสร้างโลก 

       ธรณีภาค    ฐานธรณีภาค   มีโซสเฟียร์    แก่นโลกชั้นนอก   แก่นโลก   เนื้อโลก   เปลือกโลก
                                                                                                                              
                                                                                  เปลือกโลก     เปลือกโลกใต้สมุทร 

โลกและการเปลี่ยนแปลง


            ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ ชาวเยอรมัน   ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งโผล่พ้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียว เรียกทวีปใหญ่นี้ว่า แพงกีอา (pangaea) ซึ่งแปลว่า all land หรือ แผ่นดินทั้งหมด เมื่อเลาผ่านไป แพงกีอาเริ่มแยกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนขยับเขยื้อนเคลื่อนที่แยกจากกันไปเป็นทวีปต่างๆ




1.หลักฐานรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป 

2.หลักฐาน ความคล้ายคลึงกัน ของ กลุ่มหินแนวภูเขา
          เกิดอยู่ในสภาพแวดล้อมบนบกที่หนาวเย็นและมีระยะการเกิดของภูเขาไฟเหมือนกัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าทวีปเหล่านี้เคยอยู่ติดกันมาก่อน

3.หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจาการธารน้ำแข็ง

4.หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์  มี 4 ประเภทคือ Mesosaurus , Lystrosaurus ,Cynognathus , Glossopteris
หลักฐานอื่นๆ
1. สันเขาใต้สมุทรและร่องลึกใต้สมุทร
2.อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร
3.ภาวะแม่เหล็ก


ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี




1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน 
         เกิดจากการดันตัวของแมกมา ทำให้เกิดรอยแยก จนแมกมาถ่ายโอนความร้อนสู่เปลือกโลกได้
 ทำให้อุณหภูมิและความดันลดลง ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุดในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเล และเกิดเป็นรอยแยกทำให้เกิดร่องลึกแมกมาจึงเคลื่อนตัวแทรกดันขึ้นมาอีก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรแยกจากไปทั้งสองด้านเกิด การขยายตัวของพื้นทะเล (Sea floor spreading) และทำให้เกิดเทือกเขากลางสมุทร เช่น บริเวณทะเลแดง อ่าวแคลิฟอร์เนีย แอฟริกาตะวันออก มีลักษณะหุบเขาทรุดมีร่องรอยแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆ มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้มหาสมุทร

2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน   มี 3 แบบ
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา บนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก จนมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดตัวลงข้างล่างใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เกิดเป็นร่องใต้ทะเลและเกิดเทือกเขา ตามแนงขอบทวีปเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และแผ่นดินไหวรุนแรง เช่น อเมริกาใต้แถบตะวันตก
แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาแนวยาวอยู่กลางทวีปหรือแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นเทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป 

3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
              เกิดจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน จึงทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วยส่งผลให้เปลือกโลกและเทือกเขาใต้มหาสมุทรเลื่อนไถลผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ สันเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกัน เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ประเทศอเมริกา รอยเลื่อนอัลไพล์ ประเทศนิวซีแลนด์

การเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก
             รอยเลื่อนทั้งหลายสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของระยะเลื่อน (sense of slip) รอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ (หรือระยะเลื่อน) บนระนาบรอยเลื่อนอยู่ในแนวดิ่งจะเรียกว่า รอยเลื่อนตามแนวมุมเท” (dip-slip fault) แต่หากว่าระยะเลื่อนอยู่ในแนวระดับจะเรียกว่า รอยเลื่อนตามแนวระดับ (transcurrent หรือ strike-slip fault) ส่วนรอยเลื่อนที่มีระยะเลื่อนไปตามแนวเฉียงจะเรียกว่า รอยเลื่อนตามแนวเฉียง” (oblique-slip fault)

                Theory of flow of the continent. A theory proposed by Alfred Wegener, a German surface which emerges from the surface of the land adjacent to a single continent. This is the most expensive guitar in the continent (pangaea), which means all land or earth.When the property passes. I think I began to split into several parts.Each section moves away from a stationary continents.


1. Evidence of the boundaries between the plates.
1. The Eurasia is the world to serve Asia and Europe. And water nearby.
2 The American tectonic plate that supports the North American continent. And North America, and the water surface. The west side of the ocean, Ann, FL.
3. The Pacific tectonic plates underlying the Pacific Ocean.
4. The Australian. The tectonic plates underlying the Australian continent. India The waters between Australia and India.
5. The Antarctica. The plates are supported Antarctica. And the surrounding waters.
6. The African tectonic plate that supports the African continent.And ground water around the continent.


2. Evidence of the similarity of the rock mountain.
          Born in cold environments on land and in the birth of a volcano. The evidence shows that this region is adjacent to each other before.


3. Evidence of rocks caused by the accumulation of glacial sediment, Ja.


4. The evidence from fossils, there are 4 types of Mesosaurus, Lystrosaurus, Cynognathus, Glossopteris.


Other evidence.
1. Ridge under the ocean and deep under the ocean.
2. Under the ocean floor rocks.
3. The state of a magnet.
The motion of the Earth.
 1. The edge of the earth and separated from each other.
            Caused by the pressure of the magma. Cause a rift. The magma into the crust and heat transfer.
 Temperature and pressure decrease. Tectonic subsidence and collapse into the valley from the water to accumulate on the sea.There is a deep rift magma is moving a push up. Earth and the Southern Ocean, separated from the two sides. The expansion of the sea floor (Sea floor spreading) and the central mountain range, ocean, like the Red Sea. Gulf of California. East Africa. The settlement traces the valley. Shallow earthquakes. Volcanoes and lava flows beneath the ocean.


2. The edge of the Earth moves together with the three models.
- The Southern Ocean, Earth collided with the Earth under the ocean. Earth and the other one will duck down under a sheet of paper. Ends of the sheet rock to be melted into magma. And broke up. Southern Ocean on Earth. As volcanoes on the ocean. And deep-sea trenches. A series of earthquakes along the edge of the Earth's deep mantle layer. The volcanic activity is still strong, as Ana's Island Marina in blue wax, Japan, Philippines
- The Southern Ocean, Earth and Earth collide with continental plates.
Southern Ocean, which is heavier than the Earth down beneath a subduction of continental geology. A groove beneath the sea and the mountains. Make sure the edges of continents, volcanoes along the coast. Earthquake, such as South America and the West.
- The geology of the continental plate collided with the continental geology. The two plates are very thick. It is simply a piece of ground, but it was a long hill in the middle of the continent, or the geology of the region. Such as the Himalayas in Asia, the Alps in Europe.


3. The edge of the Earth moving through the region.
              The rate of movement of magma in the mantle are not equal. The motion of the Earth is not the same with the mountains and the ocean crust, resulting in the skid and slash through it. A shear plane on the side of large faults. Mid-ocean ridge along the margins as well. It is a long narrow crack along the direction perpendicular to the central mountains, ocean and deep ocean trenches. Usually occurs in shallow earthquake. Overlap between the edge of the Earth and the overlap between the San Andreas fault around her. United States. Alpine Fault States. New Zealand.


Changing nature of the crust.
             All faults can be classified into three groups according to the nature of the (sense of slip) faults that are moving relative. (Or phase shift) on a vertical fault plane is called. "The only fault line" (dip-slip fault), but if the drop in level is called. "Class fault line" (transcurrent or strike-slip fault) fault is a phase shift along the East are called. "Faults along the East" (oblique-slip fault).


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างโลก

การศึกษาโครงสร้างโลก


ศึกษาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยจะใช้คลื่นปฐมภูมิ (P wave)และ คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
การแบ่งโครงสร้างโลก
โครงสร้างของโลกตามลักษณะมวลสารเป็นชั้นใหญ่ 3 ชั้น คือ ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก






1. ชั้นเปลือกโลก (crust) เป็นผิวด้านนอกที่ปกคลุมโลก ส่วนที่บางที่สุดของชั้นเปลือกโลก
อยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ และส่วนที่หนาที่สุดอยู่ที่แนวยอดเขา
ชั้นเปลือกโลกแบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ
1) เปลือกโลกภาคพื้นทวีป หมายถึง ส่วนที่เป็นแผ่นดินทั้งหมด ประกอบด้วยธาตุซิลิคอนร้อยละ 65275 และอะลูมิเนียมร้อยละ 25235 เป็นส่วนใหญ่ มีสีจาง เรียกหินชั้นนี้ว่าหินไซอัล (sial) ได้แก่ หินแกรนิต ผิวนอกสุดประกอบด้วยดิน และหินตะกอน
2) เปลือกโลกใต้มหาสมุทร หมายถึง ส่วนของเปลือกโลกที่ปกคลุมด้วยน้ำประกอบด้วยธาตุซิลิคอนร้อยละ 40250 และแมกนีเซียมร้อยละ 50260 เป็นส่วนใหญ่มีสีเข้ม เรียกหินชั้นนี้ว่า หินไซมา (sima) ได้แก่ หินบะซอลต์ติดต่อกับชั้นหินหนืดมีความลึกตั้งแต่ 5 กิโลเมตรในส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทรลงไปจนถึง 70 กิโลเมตรในบริเวณที่อยู่ใต้เทือกเขาสูงใหญ่


2. ชั้นเนื้อโลก (mantle) อยู่ถัดลงไปจากชั้นเปลือกโลก ส่วนมากเป็นของแข็ง
มีความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตรนับจากฐานล่างสุดของเปลือกโลกจนถึงตอนบนของแก่นโลก เป็นหินหนืด ร้อนจัด ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ซิลิคอน
และอะลูมิเนียม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
1) ชั้นเนื้อโลกส่วนบน เป็นหินที่เย็นตัวแล้ว บางส่วนมีรอยแตก เนื่องจากความเปราะชั้นเนื้อโลก ส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกันเรียกว่า ธรณีภาค (lithosphere)
ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกที่แปลว่า ชั้นหิน ชั้นธรณีภาคมีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไป
2) ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) มีความลึก 1002350 กิโลเมตร
เป็นชั้นที่มีแมกมา ซึ่งเป็นหินหนืดหรือหินหลอมละลายร้อน หมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้าๆ
3) ชั้นเนื้อโลกชั้นล่างสุด อยู่ที่ความลึก 35022,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อน
แต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน มีอุณหภูมิสูงประมาณ 2,25024,500 องศาเซลเซียส


3. ชั้นแก่นโลก (core) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) แก่นโลกชั้นนอก อยู่ที่ความลึก 2,90025,100 กิโลเมตร เชื่อว่าประกอบด้วยสารเหลวร้อน
ของโลหะเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความร้อนสูงมาก มีความถ่วงจำเพาะ 12
2) แก่นโลกชั้นใน อยู่ที่ความลึก 5,10026,370 กิโลเมตร มีส่วนประกอบเหมือนแก่นโลกชั้นนอก
แต่อยู่ในสภาพแข็ง เนื่องจากมีความดันและอุณหภูมิสูงมาก อาจสูงถึง 6,000 องศาเซลเซียส
มีความถ่วงจำเพาะ 17ชั้นต่างๆ ของโลกมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน ทั้งด้านกายภาพและ
ส่วนประกอบทางเคมี โครงสร้างและส่วนประกอบภายในของโลกจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด
ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา คือ แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด


The study of the world.




Studies using scientific principles. The primary wave (P wave) and secondary wave (S wave).
 The division of the world.
 The structure of the material world as big as a third layer is the layer of Earth's mantle and the Earth.

1. The earth's surface (crust) is an outer skin that covers the globe.The thinnest layer of earth.
The Pacific Ocean east of the Philippines And the thickest is at the top of the hill.
 The crust is divided into two areas.
1) The continental crust of the earth. Consists of the elements silicon and aluminum by 65 275 percent to 25,235, most of the lighter side of rock called sedimentary rock that Allah (sial) and the outer skin consists of granite and sedimentary rock.
2) the ocean crust of the earth is covered with water, the elements silicon and magnesium, percent 50 260 40 250 percent, mostly dark. Sedimentary rocks known as Simon's (sima) and basaltic rocks with depths ranging from 5 kilometers to Hinhnd beneath the ocean down to 70 km beneath the high mountains in the vicinity of large

2. The mantle (mantle) from the floor next to the crust. Most of it is solid.
A depth of approximately 2900 kilometers of the crust from the bottom to the top of Earth's core consists of iron is hot Hinhnd silicon.
And aluminum is divided into three layers.
1) the upper mantle. Stone cold the next. Some cracks. Due to the brittle mantle layer. Upper layers of Earth's crust as well as (lithosphere).
Which is derived from the Greek meaning earth and rock layers with a thickness of about 100 kilometers from the surface down.
2) the asthenosphere. (Asthenosphere) had a depth of 1,002,350 kilometers.
Layers of magma. The molten rock Hinhnd or heat. Slowly swirling in the world.
3) the bottom layer of mantle. 35022.900 km in depth is a layer of solid heat.
However, tight and viscous than the upper. We 2,25024,500 high temperature degrees Celsius.

3. The Earth's core (core) is divided into two parts.
1) the Earth's outer layer. 2,90025,100 kilometers depth is believed to contain liquid water.
Of metallic iron and nickel, mostly A very hot. The Gravity 12.
2) the inner core. 5,10026,370 kilometers deep in the Earth's core components like outer layer.
It is in appreciation. Due to extremely high pressure and temperature may be as high as 6,000 degrees Celsius.
The specific gravity of the 17 layers of different characteristics and properties. Both physical and
Chemical composition. Internal structure and parts of the world, thus causing a result.
Earthquakes and volcanic eruptions are the geologic phenomenon.

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...